ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 
กรดไหลย้อน...โรคทรมานชีวิตประจำวัน

 

            โรคกรดไหลย้อนจากกระเพาะสู่หลอดอาหาร หรือ โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD) เป็น ภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร โดยสิ่งที่ไหลย้อนส่วนใหญ่จะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ส่วนน้อยอาจเป็นด่างหรือน้ำย่อยจากลำไส้เล็ก โดยอาจมีหรือไม่มีภาวะหลอดอาหารอักเสบก็ได้ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมี อาการแสบยอดอก หรือมีภาวะเรอเปรี้ยวร่วมด้วย (มีความรู้สึกเหมือนมีกรด หรือน้ำย่อยรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อนขึ้นมาที่คอหรือที่ปาก) ภาวะนี้อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบได้ ถ้าเป็นมากจนเกิดแผลรุนแรงอาจทำให้หลอดอาหารส่วนปลายตีบ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์ของเยื่อบุหลอดอาหาร ในบางรายที่เป็นรุนแรงอาจถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ นอกจากนี้ ในบางรายอาจมาด้วยอาการของโรคทางระบบหู คอ จมูก เช่น ไอเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง หรืออาจมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ หรือมีกลิ่นปาก เป็นต้น

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น
1.  หลอดอาหารส่วนปลายมีการคลายตัวที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับการกลืน ทำให้กรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารสามารถไหลย้อนกลับขึ้นไปสู่บริเวณหลอด อาหารได้ ซึ่งสาเหตุนี้จัดเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรค
2. ความดันของกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าคนปกติ หรือเกิดมีการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารมากขึ้น
3.  เกิดจากความผิดปกติในการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหารเอง
4.  ปัจจัยทางพันธุกรรม

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน

            อาการ สำคัญคือ แสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ แล้วลามมาที่บริเวณหน้าอกหรือคอ อาการนี้จะเป็นมากขึ้นหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก หรือเมื่อโน้มตัวไปข้างหน้า ยกของหนัก หรือนอนหงาย อาการสำคัญอีกประการก็คือ อาการเรอเปรี้ยว คือมีกรดซึ่งเป็นน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก โดยผู้ป่วยอาจมีทั้ง 2 อาการหรืออาการใดอาการหนึ่งก็ได้ ในคนไทยที่เป็นโรคนี้บางครั้งอาจพบอาการนี้ไม่ชัดเจนอย่างคนในแถบตะวันตก หรืออเมริกา อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือกลืนลำบากในบางรายที่เป็นมาก บางรายอาจมาด้วยอาการที่ไม่ใช่อาการของหลอดอาหาร เช่น เจ็บหน้าอก จุกที่คอ มีอาการคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณลำคอ เสียงแหบ หรือเจ็บคอเรื้อรัง หอบหืด หรือปากมีกลิ่นโดยหาสาเหตุไม่ได้

จะวินิจฉัยอย่างไร

              โดยปกติแล้วแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากอาการดังที่กล่าวมา โดยผู้ป่วยที่มีอาการทั้งแสบยอดอก และ/หรือ เรอเปรี้ยว (ทั้งนี้ไม่ควรมีอาการที่บ่งบอกว่าน่าจะเป็นโรคอื่น อาทิ น้ำหนักลด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ ถ่ายเป็นเลือด หรือมีไข้) แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อน และให้การรักษาเบื้องต้นได้ โดยจะติดตามดูอาการของผู้ป่วย ในบางรายอาจมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ส่องกล้องทางเดินอาหาร ตรวจทางรังสีวิทยา การตรวจวัดการบีบตัวของหลอดอาหาร และการตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างในหลอดอาหาร ซึ่งพบว่าได้ผลแม่นยำและดีที่สุดในปัจจุบัน

ควรปฏิบัติอย่างไรถ้าเป็นโรคนี้
             โดย ทั่วไปเป้าหมายของการรักษา แพทย์จะมุ่งเน้นให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น โดยรักษาอาการอักเสบของแผลในหลอดอาหารและป้องกันภาวะแทรกซ้อน การรักษาประกอบไปด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การให้ยา การส่องกล้องรักษาและการผ่าตัด ในเบื้องต้นวิธีที่ง่ายที่สุดคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งสามารถทำได้ดังต่อไปนี้

1.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
2.หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด     เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อคโกแลต
3.ระวังไม่ให้น้ำหนักตัวมากหรืออ้วนเกินไป
4.ระวังอาหารมื้อเย็นไม่กินปริมาณมากและไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
5.ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
6.ไม่ใส่เสื้อรัดรูปเกินไป
7.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
8.นอนตะแคงซ้ายและนอนหนุนหัวเตียงให้สูงอย่างน้อย 6 นิ้ว

เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรทำอย่างไร

              ถ้าปฏิบัติตามคำแนะนำเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องรับประทานยาร่วมด้วย โดยยาที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบันคือยาลดกรดในกลุ่ม Proton Pump Inhibitors (PPI) โดยที่แพทย์จะให้รับประทานยาในกลุ่มนี้เป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ ในบางรายที่เป็นมากอาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานหลายเดือนหรือ เป็นปี ซึ่งอาจจะมีการปรับการรับประทานยาแบบช่วงระยะเวลาสั้นๆ หรือไม่กี่วันตามอาการที่มี หรือกินติดต่อกันตลอดเป็นเวลานาน อย่างไรก็ดีการใช้ยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ในรายที่รับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาการรักษาด้วยการส่องกล้อง หรือการผ่าตัด

**สำหรับยาในกลุ่มที่มีผลต่อการลดจำนวนการคลายตัวของหูรูดนั้น ยังมีอยู่จำนวนไม่มากและยังมีผลข้างเคียงอยู่พอสมควร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th